ปิงปอง กีฬาสุดฮิต 2020 เดิมพันง่าย โอกาสชนะสูง

ปิงปอง-1
ปิงปอง

     ปิงปอง เป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่ทั่วโลกรู้จักเป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นเกมกีฬาในระดับสากลที่ได้รับความนิยมอย่างสูงเรื่อยมา อีกทั้งยังเป็นกีฬาที่สามารถเรียกเหงื่อ ทั้งได้ความสนุกสนานจากการแข่งขันและการร่วมลุ้นร่วมเชียร์แต่ละฝ่ายที่ทำการแข่งขันไปในตัวอย่างสนุกสนานด้วย ทั้งยังเป็นการสันทนาการที่ได้ทั้งความบันเทิงและการออกกำลังกายไปในตัว จนกระทั่งความนิยมสำหรับการแข่งขันปิงปองผันตัวมาสู่การเดิมพันผ่านช่องทางออนไลน์ ที่สามารถทำเงินและความบันเทิงให้กับผู้เล่นได้ในคราวเดียวกัน

ประวัติของกีฬาปิงปองที่คัดมาเพื่อท่านโดยเฉพาะ

     กีฬาปิงปอง มีจุดเริ่มต้นมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัอดีต โดยจุดเริ่มต้นของปิงปองต้องย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1890 ประเทศอังกฤษถือว่าเป็นต้นกำเนิดของกีฬาชนิดนี้เลยก็ว่าได้ ตอนนั้นอังกฤษได้สร้างไม้ตีขึ้นมา เป็นไม้มีลักษณะเหมือนไม้ปิงปองในปัจจุบันหุ้มด้วยหนังสัตว์ ส่วนลูกที่ใช้ในการตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ ทำมาจากวัสดุพลาสติกกึ่งสังเคราะห์ ชื่อของกีฬาชนิดนี้ ปิงปอง มาจากเสียงของลูกปิงปองที่กระทบกับพื้นโต๊ะเวลาตีโต้กันไปมา ทำให้เกิดเสียง ปิ๊ก ป็อก จึงเรียกตามเสียงนี้ว่า ปิงปอง เมื่อมีการเล่นปิงปองในประเทศอย่างแพร่หลาย ก็กลายมาเป็นที่รู้จักของประเทศต่างๆ ด้วยการแพร่กระจายความนิยมออกไป โดยเริ่มกระจายความนิยมเข้าสู่ประเทศแถบยุโรป เริ่มต้นจากการเล่นแบบพื้นฐานที่ยังไม่มีเทคนิคอะไรมากมายนัก โดยในยุคนั้นมีการจับไม้สองแบบที่เราคุ้นเคยดีนั่นคือ จับไม้แบบจับมือ หรือ จับแบบจับปากกา (พัฒนาเป็นไม้จีนในเวลาต่อมา) เมื่อกีฬานี้ได้รับความนิยมมากขึ้น ก็ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นตามไปด้วย ไม้ปิงปองได้มีการพัฒนาหนังหุ้มจากหนังสัตว์มาเป็นหนังพลาสติกหุ้มแทนเพื่อให้สัมผัสตกกระทบกับลูกปิงปองทำได้ดีขึ้น ต่อมาปี ค.ศ. 1922 กีฬาปิงปองของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้ง เนื่องจากได้มีบริษัทกีฬาแห่งหนึ่งได้จดทะเบียนการค้าโดยเอาชื่อ ปิงปองไปใช้นั่นทำให้ต้องมีการเปลี่ยนชื่อใหม่ เลยมาลงตัวกับชื่อว่า เทเบิ้ลเทนนิส พร้อมกับก่อตั้งสหพันธ์เทเบิ้ลเทนนิสนานาชาติขึ้น ตรงนี้ถือว่าเป็นหมุดสำคัญของวงการเทเบิ้ลเทนนิสเลย เนื่องจากพอตั้งสหพันธ์ได้นั่นหมายความว่ากีฬาชนิดนี้ได้รับการยอมรับจากนานาชาติมากขึ้นแล้ว จนนำมาซึ่งการแข่งขันระดับนานาชาติอย่าง การแข่งขันเทเบิ้ลเทนนิสโลกครั้งที่ 1 หลังจากนั้นกีฬาชนิดนี้ก็แพร่หลายเรื่อยมา ตอนแรกกีฬานี้ยุโรปเก่งมากเพราะว่าแพร่หลายมาก่อน แต่หลังจากกีฬานี้แพร่หลายเข้าไปในจีน และญี่ปุ่น อะไรก็เปลี่ยนไป โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ใช้ความสามารถของตัวเองสร้างเทคโนโลยีหนังหุ้มไม้ปิงปองใหม่เพื่อให้เล่นได้ดียิ่งขึ้น ส่วนวิธีการเล่นพวกเค้าใช้การเคลื่อนไหวร่างกายที่รวดเร็ว เหมือนกับการเต้นฟุตเวิร์คของมวยมาเป็นการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานเพื่อให้นักกีฬาของเค้าวิ่งไปรับลูกได้ไวรวมถึงบุกกลับได้อย่างรวดเร็ว จากสิ่งเหล่านี้จึงทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่มีความสามารถในการเล่นกีฬาปิงปองอยู่ช่วงหนึ่งเลย จากนั้นมีการพัฒนาและกระจายกีฬาปิงปองออกไปยังประเทศใกล้เคียง โดยเริ่มจากจีนเองก็เอากีฬานี้ไปพัฒนาต่อยอด ด้วยการดูวิธีการเล่นของญี่ปุ่นเป็นหลัก จากนั้นก็พัฒนาตัวเองขึ้นมาจนต่อสู้เอาชนะญี่ปุ่นในกีฬาชนิดนี้ไปได้ ต่อจากนั้นทั้งสามก็กลายเป็นคู่แข่งมหาอำนาจในกีฬาชนิดนี้มาตลอดทั้งเทคนิคการเล่น และ การพัฒนาไม้ปิงปองให้มีคุณภาพ

ปิงปอง-00003

กีฬาปิงปองในไทย มีความเป็นมาอย่างไร

     กีฬาปิงปองที่เริ่มต้นในประเทศไทยเกิดจากความนิยมการเล่นกีฬาชนิดนี้ในแถบประเทศเพื่อนบ้าน แต่อาจจะยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าเริ่มนำกีฬาปิงปองเข้ามายังบ้านเราตอนไหนอย่างไร และใครเป็นคนนำเข้ามาแต่หากจะนับหลักฐานที่พอจะเป็นเรื่องเป็นราวก็ต้องปี พ.ศ.2500 ที่มีการจัดตั้งสมาคมเทเบิ้ลเทนนิสแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก จนทำให้เกิดการแพร่หลายมากขึ้นในโรงเรียนก็มีการนำกีฬาชนิดนี้เข้าไปสอน รวมถึงได้มีการจัดแข่งชิงแชมป์ประเทศไทยถ้วยพระราชทานด้วย ต่อแต่นั้นมากีฬาปิงปองก็กลายเป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วไป และมีการต่อยอดจนนำไปสู่ความนิยมในการเล่นปิงปองโดยกระจายความนิยมอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องด้วย

ปิงปอง-00001

วิธีการเล่นปิงปอง พร้อมอุปกรณ์ที่ควรมี

table-tennis-mb

     กีฬาปิงปองเป็นกีฬาชนิดที่เล่นง่ายมากๆ แตกต่างจากกีฬาชนิดอื่นๆ ที่อาจจะมีกฎ กติกา และข้อจำกัดการเล่นที่มากกว่า แต่กีฬาปิงปองก็ต้องมีอุปกรณ์การเล่นให้ครบถ้วน รวมถึงตัวผู้แข่งขันด้วย จึงจะสามารถเข้าสู่การแข่งขันปิงปองได้ แต่หากไม่มีโต๊ะปิงปองก็อาจทดแทนด้วยอุปกรณ์ชนิดอื่นได้ โดยอาจจะเป็นโต๊ะที่ทำขึ้นเอง เอาสิ่งของอย่างอื่นมาตั้งแต่เน็ตก็สามารถเล่นกันได้เลย แต่หากเป็นการแข่งขันปิงปองในระดับสากลก็จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ทั้งหมดให้ครบถ้วน ดังนั้นการจัดการเล่นปิงปองกันเองจึงสามารถทำได้ง่ายทุกที่ทุกเวลา จึงเป็นการเปิดกว้างสำหรับการเล่นปิงปอง จึงทำให้กีฬาชนิดนี้แพร่ความนิยมได้รวดเร็วมากขึ้นด้วย

ปิงปอง-00002

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเล่นปิงปองและการเตรียมตัว

1. โต๊ะปิงปอง

     เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับการเล่นกีฬาปิงปอง หากเป็นการจัดการแข่งขันกันเองก็อาจทำโต๊ะปิงปองกันเอง โดยอาจไม่ต้องเน้นมาตรฐานหรือขนาดความกว้างยาวมากนัก แต่หากเป็นการแข่งขันระดับมาตรฐานเครื่องมืออุปกรณ์ก็ต้องให้เหมือนกันด้วยเพื่อให้ผลการแข่งขันใกล้เคียงกัน ว่ากันเรื่องโต๊ะเป็นอย่างแรก โต๊ะสำหรับแข่งขันนั้นจะต้องเป็นโต๊ะที่ทำจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐาน โต๊ะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวด้านละ 2.74 เมตร ความกว้าง 1.525 เมตร และโต๊ะจะต้องมีความสูงจากพื้น 76 เซนติเมตร พื้นผิวของโต๊ะจะทำมาจากหลายวัสดุแต่มีมาตรฐานอยู่ว่าจะต้องทำให้ลูกกระดอนขึ้นลงสม่ำเสมอมาตรฐานก็คือ ปล่อยลูกความสูง 30 เซนติเมตร ต้องทำให้ลูกกระดอนขึ้นมาอย่างน้อย 23 เซนติเมตร ส่วนเรื่องสีเราอาจจะเห็นเป็นสีเขียว หรือ ฟ้า ก็ได้ไม่บังคับ แต่ต้องมีเส้นขอบแสดงชัดเจน

2. ตาข่ายโต๊ะปิงปอง

     เนตหรือตาข่าย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กั้นเพื่อแบ่งเส้นแนวเขตของแต่ละฝ่าย โดยหากเราเล่นกันเองทั่วไปก็อาจจะไม่เน้นอะไรมาก บางคนเอาอย่างอื่นมาทำหน้าที่แทนเนตก็มี แต่หากเป็นการแข่งขันจริงต้องใช้เนตให้ถูกต้อง มาตรฐานของเนตก็คือ จะต้องสูง 15. 25 เซนติเมตร

3. ลูกปิงปอง

     ลูกปิงปองจำเป็นต้องได้มาตรฐานทั้งในเรื่องขนาดและน้ำหนัก จึงจะเหมาะสมต่อการตีปิงปองไปมาระหว่างกัน เพราะว่าเป็นสิ่งที่จะต้องใช้สำหรับการเล่นตลอดเวลา โดย ลูกปิงปอง จะต้องมีมาตรฐานดังนี้ ขนาดต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 มิลลิเมตร น้ำหนักโดยประมาณ 2.7 กรัม ลูกปิงปองจะต้องทำจากวัสดุเซลลูลอยด์ หรือ อย่างอื่นที่ใกล้เคียงกัน (อันนี้สำคัญมากเพื่อให้การเล่นไม่เพี้ยน) สีส้ม หรือ สีขาวก็ได้

4. ไม้ปิงปอง (ไม้เทเบิลเทนนิส)

     ไม้ปิงปองจะต้องมีน้ำหนักและขนาดที่ได้มาตรฐาน แต่สำหรับผู้เล่นนักปิงปองมืออาชีพก็อาจเสริมการทำไม้ปิงปองให้ได้ตามความต้องการของตัวเองได้มากขึ้นได้ แต่ทั้งนี้จะต้องยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานโดยไม่ผิดกฎกติกาของปิดปองด้วย โดยปกติเราจะเห็นไม้ปิงปองมีลักษณะเหมือนกันหมด แต่หากดูตามกฎแล้วเค้าไม่ได้กำหนดลักษณะของไม้เอาไว้ กำหนดไว้เพียงแค่ว่าหน้าไม้จะต้องแบนเรียบ และแข็งเท่านั้นเอง สองอย่างน้อย 85% ความหน้าของไม้จะต้องทำจากไม้ธรรมชาติ แล้วมีหน้าอย่างอื่นประกบเอาไว้ ซึ่งหน้ายางที่ประกอบนั้นทำมาจากยางสังเคราะห์สีแดง หรือ สีดำเท่านั้น (อันนี้สำคัญ เน้นและเป็นกฎ)

5. การเสิร์ฟปิงปอง

     ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเล่นปิงปอง เพราะการเสิร์ฟที่ดีและมีเทคนิคเฉพาะตัวจะช่วยให้ผู้เล่นสามารถเอาชนะคู่แข่งได้ง่ายจากคะแนนแต้มเสิร์ฟได้ หากการเสิร์ฟดีโอกาสจะปิดเกมได้ตั้งแต่ลูกเสิร์ฟมีสูง หรือ บางทีอาจจะกำหนดวิธีการเล่นของฝ่ายตรงข้ามได้จากการเสิร์ฟเลย หากตีโต้มาไม่ดี เราก็สามารถปิดเกมได้เลย ดังนั้นการเสิร์ฟเลยต้องมีการกำหนดกฎไว้อย่างชัดเจน ขออธิบายที่จะเข้าใจแบบง่ายๆก็คือ หนึ่งเราต้องโยนลูกปิงปองในมือที่ว่างให้ลอยอยู่เหนือมืออย่างน้อย 16 เซนติเมตร สองจะสามารถตีลูกได้ก็ต่อเมื่อลูกลดระดับจากจุดสูงสุด สามขณะที่เสิร์ฟลูกนั้นจะต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายบังลูกปิงปองกับฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถเคลื่อนไหวเตรียมตัวรับลูกเสิร์ฟได้

6. การรับลูกปิงปอง

     การรับลูกปิงปองก็เป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ผู้เล่นสามารถควบคุมแต้มการแข่งขันได้ด้วยเช่นกัน เพราะคู่แข่งต้องการให้เราเสียแต้มให้แก่เขาด้วยการตีลูกเฉพาะตัวหรือเสิร์ฟลูกเพื่อให้เรารับไม่ได้ ดังนั้นการรับลูกอย่างมีชั้นเชิงจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการส่งผลเรื่องการทำแต้มเช่นกัน หากเป็นการแข่งขันประเภทเดี่ยว ผู้เล่นจะต้องใช้ไม้สัมผัสกับลูกหลังจากลูกกระดอนโต๊ะแล้ว ตีกลับไปยังแดนฝ่ายตรงข้ามเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเล่น สิ่งสำคัญก็คือ ผู้เล่นต้องระมัดระวังไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสกับโต๊ะ หากสัมผัสโดนจะเป็นการฟาล์วทันที การเล่นประเภทคู่ก็ใช้กฎเดียวกันแต่เพิ่มกติกาอีกข้อหนึ่งก็คือ แต่ละฝ่ายจะต้องผลัดกันตีด้วย ยกตัวอย่างเช่น ทีม ก. คนแรกตีไปให้กับ ฝ่าย ข.คนแรกรับ ฝ่าย ข. ตีโต้กลับมา ทีม ก. คนที่สองต้องเป็นคนรับ ตีโต้ กลับไป

7. การนับคะแนนปิงปอง

     การนับแต้มในการแข่งขันปิงปองถือว่ามีความชัดเจนในการนับแต้มที่ชัดเจน และไม่มีเทคนิคใดยุ่งยากเหมือนกับการแทงสนุกเกอร์เท่าไรนัก แต่การตีปิงปองก็มีการเสียคะแนนจากการทำฟาล์วได้เช่นกัน ดังนั้นการตีปิงปองจนทำฟาล์วก็เป็นผลสืบเนื่องโดยตรงต่อการนับแต้มเช่นกัน โดยมีวิธีการได้แต้มจากการตีปิงปอง แบ่งออกเป็นสองวิธีการใหญ่ หนึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถรับลูกจากฝ่ายตรงข้ามได้ สองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำฟาล์ว วิธีการแรกเข้าใจกันแบบง่ายก็คือ กรณีที่ฝ่ายตีโต้ลูกมาแบบถูกต้อง ฝ่ายรับไม่สามารรับได้ หรือ ตีโดนแต่ฟาล์ว ฝ่ายรับก็เสียแต้มให้ฝ่ายรุกไป สองกรณีที่ฝ่ายรับลูก หรือ ฝ่ายที่ตีลูกทำฟาล์ว ก็จะเสียแต้มด้วยเหมือนกัน การเสียแต้มในลักษณะนี้ก็จะมี ตีลูกไม่โดน ตีโต้ลูกกลับไปมาอย่างไม่ถูกต้อง ตีลูกแล้วลูกออกนอกโต๊ะ ตีลูกแล้วไม่กระดอนลงในพื้นที่ตัวเอง หรือ กระดอนไม่ถูกต้อง ตีลูกไม้ข้ามแดน ตีลูกผิดลำดับการตี(ประเภทคู่) ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งสัมผัสกับโต๊ะ หรือ ลูกปิงปอง หรือการตีลูกผิดวิธีอื่นที่กรรมการตัดสินว่าไม่ถูกต้อง การนับคะแนนต่อเกม การเล่นปิงปอง หากเป็นการเล่นทั่วไป ส่วนใหญ่เกมหนึ่งเรามักจะเห็นว่าใช้ประมาณ 5 หรือ 7 คะแนนเท่านั้น (ใครได้คะแนนตามกำหนดก่อนเป็นผู้ชนะในเกมนั้น) แต่หากเป็นระดับการแข่งขัน จะแข่งขันกันที่ 11 คะแนน (ใครได้ก่อนก็จะชนะในเกมนั้นไป) แต่ถ้าผู้เล่นทำคะแนนเท่ากันที่ 10 คะแนน (ดิวซ์) จะแข่งกันต่อไปจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน ก็จะเป็นผู้ชนะในเกมนั้นไป แมทช์หนึ่งจำนวนเกมจะเป็นเลขคี่ขึ้นอยู่กับฝ่ายจัดการแข่งขัน แต่มักจะเป็นการแข่งแบบ 2 ใน 3 เกมส์ , 3 ใน 5 เกมส์ หรือ 4 ในเ 7 เกมส์แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้นเพื่อกระชับเวลาการแข่งขัน

8. เครื่องแต่งกาย นักกีฬาปิงปอง

     หากเป็นการตีปิงปองโดยจัดการแข่งขันกันเองตามที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยเป็นการเล่นเพื่อความสนุกสนานและเป็นการออกกำลังกายแบบธรรมดานั้น การแต่งกายในการเล่นก็ไม่มีความจำเพาะแต่อย่างใด แต่หากเป็นการแข่งขันกีฬาหากเป็นระดับที่เป็นทางการจะต้องมีการกำหนดเรื่องของเครื่องแต่งกายเอาไว้ด้วย เพื่อให้นักกีฬาเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว และเท่าเทียมกันด้วย การแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสเสื้อกำหนดไว้ว่า จะเป็นเสื้อแขนสั้น หรือ แขนกุดเท่านั้น (แขนยาวไม่อนุญาต) ส่วนกางเกงจะเป็นขาสั้น หรือ กระโปรงก็ได้ (ไม่อนุญาตกางเกงวอร์มขายาว) ด้านล่างนักกีฬาจะต้องใส่ถุงเท้า รองเท้าผ้าใบอย่างชัดเจนเพื่อให้การเคลื่อนไหวสะดวกขึ้น รายละเอียดของเสื้อผ้ากีฬาก็คือ จะต้องมีสีที่แตกต่างจากลูกที่ใช้ในการแข่งขัน(ขาว หรือ ส้ม) อย่างชัดเจน เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามมองเห็นลูกปิงปอง บนอกเสื้ออาจจะมีการติดเบอร์ หมายเลขสำหรับการแข่งขันได้ หรือ จะติดด้านหลังก็ได้ แต่ไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินกว่า 600 ตารางเซนติเมตร นอกจากนั้นหากเสื้อจะมีลวดลาย ลายเส้นจะต้องไม่ทำให้อีกฝ่ายลายตา รบกวนสายตา สะท้อนแสง จนทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถมองเห็นลูกปิงปองได้ ส่วนการแข่งขันประเภทคู่นักกีฬาที่มาจากทีมเดียวกัน เสื้อกางเกง/กระโปรง จะต้องเหมือนกัน หรือ ทางเดียวกัน ยกเว้นถุงเท้า รองเท้าอาจจะแตกต่างกันได้ ในกรณีที่เป็นการแข่งขันระดับประเทศ หรือ ระดับนานาชาติ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสวมชุดที่เป็นทางการจากประกาศแจ้งของสมาคมกีฬาเท่านั้น

9. สถานที่ในการจัดการแข่งขัน กีฬาปิงปอง

     หากเป็นการแข่งขันระดับที่เป็นทางการ หรือเป็นแมตซ์การแข่งขันที่สำคัญและมีผู้ชมมากมาย การจัดสถานที่จึงถือว่ามีบทบาทต่อทุกแมตซ์การแข่งขันเลยทีเดียว เพราะการแข่งขันระดับนั้น นักกีฬาจะต้องใช้พื้นที่เยอะมากในการเล่น บางทีลูกกระดอนออกจากโต๊ะไปตั้งไกลเค้าก็ยังสามารถไปเก็บกลับมาเล่นได้ เลยต้องมีการกำหนดพื้นที่เอาไว้ให้ชัดเจน ซึ่งค่อนข้างกว้างหน่อย พื้นที่จัดแต่ละโต๊ะการแข่งขันจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 7 เมตร ยาวไม่น้อยกว่า 14 เมตร แล้วจะมีที่ปิดกั้นไว้ด้วยเพื่อความปลอดภัย สองระดับความสว่างของพื้นที่การแข่งขัน หากเป็นระดับนานาชาติอย่างโอลิมปิก ซีเกมส์ จะต้องมีความเข้มของแสงสม่ำเสมอไม่น้อยกว่ 1,000 ลักซ์ ส่วนพื้นที่อื่นในสนามต้องมีแสงไม่น้อยกว่า 500 ลักซ์ แต่หากเป็นการแข่งขันระดับรองลงมาอาจจะเหลือแสงสว่างบนโต๊ะไม่น้อยกว่า 600 ลักซ์ และ พื้นที่สนามต้องไม่น้อยกว่า 400 ลักซ์ เท่านี้ยังไม่พอยังรวมถึงบรรยากาศโดยรอบการแข่งขันทั้งห้องนั้นหรือสนามจะต้องได้สัดส่วนที่ดี มีความปลอดโปร่งทั้งในสภาพอากาศ รวมทั้งแสงที่ส่องลงมาบนโต๊ะปิงปองในระหว่างการแข่งขันด้วย รวมไปถึงแสงโดยรอบๆ สถานที่ในการแข่งขันที่จะต้องไม่จ้าหรือมืดจนเกินไป เพราะมีผลต่อสายตาที่ทำการจ้องมองในขณะตีไม้ปิงปอง ส่วนเครื่องมือในการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เนต ลูก และอุปกรณ์อื่นฝ่ายจัดการแข่งขันต้องเตรียมให้กับนักกีฬาให้เรียบร้อย ยกเว้นไม้ตีที่ผู้เข้าแข่งต้องเตรียมมาเองเพื่อลงแข่งขัน

10. การเลือกลูกปิงปองก่อนเริ่มการแข่งขัน

     ลูกปิงปองสำหรับการแข่งขันถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของการแข่งปิงปอง ทั้งต้องมีน้ำหนัก ขนาดที่ได้มาตรฐานอีกด้วย เพราะผลแพ้ชนะในการตีปิงปองรวมไปถึงน้ำหนักมือในการตีปิงปองของผู้แข่งขันมาจากน้ำหนักหรือขนาดของลูกปิงปองนั่นเอง โดยหากเป็นการแข่งขันปิงปองในระดับสากลนั้น จะมีการสุ่มลูกก่อนการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องทดสอบลูกปิงปองที่ฝ่ายจัดการแข่งขันหาไว้ให้เพื่อจัดคัดเลือกเอาไว้ใช้ในการแข่งขัน โดยการทดสอบนั้นจะไม่สามารถไปทดสอบกับโต๊ะได้ ต้องทดสอบบนพื้นการแข่งขันแทน จากนั้นก็เอาให้กรรมการเพื่อสุ่มหยิบขึ้นมาเพื่อแข่งขัน แต่ถ้าระหว่างแข่งขันเกิดลูกปิงปองชำรุดเสียหาย หรือ กระดอนไปไกลเก็บไม่ได้ ผู้เล่นมีสิทธิ์แจ้งต่อกรรมการเพื่อเปลี่ยนลูกปิงปอง หรือ กรรมการสามารถสุ่มหยิบให้ผู้เล่นได้เหมือนกัน การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการสร้างความเสมอภาคและยุติธรรมต่อผู้แข่งขันทั้งสองฝ่ายสำหรับเรื่องน้ำหนักของลูกปิงปองนั่นเอง

11. การซ้อมก่อนเล่น

     การซ้อมก่อนเล่หรือก่อนการแข่งขันจริงจะสามารถเป็นการซ้อมความเคยชินและสร้างความชำนาญในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้เรารู้วิธีการจับไม้ในแบบที่เราถนัดโดยที่ไม่ขัดต่อกฎกติกาการแข่งขัน รวมไปถึงการลงน้ำหนักที่เหมาะสมกับตนเองในการตีลูกปิงปอง โดยหากเป็นการแข่งขันในระดับมาตรฐานหรือสากล กรรมการจะให้มีการทดสอบพื้นที่สนามก่อนลงแข่งจริง เทเบิลเทนนิสเองก็เช่นกัน กรรมการมีสิทธิ์ให้ผู้เล่นแต่ละฝ่ายสามารถฝึกซ้อมบนโต๊ะแข่งขันจริงได้ไม่เกินคนละ 2 นาที จากนั้นก็เปลี่ยนฝั่งให้ผู้เล่นได้ซ้อมเท่ากัน แล้วจึงเริ่มเกม การซ้อมบนโต๊ะอาจจะขยายเวลามากกว่านั้นได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมกา แต่พักระหว่างเกม ระหว่างเซตไม่สามารถซ้อมได้ อีกกรณีหนึ่งที่ให้ซ้อมได้ก็คือ ผู้เล่นเกิดเหตุขัดข้องต้องขอเปลี่ยนไม้ระหว่างการแข่งขัน (ผู้เล่นต้องพกไม้มาเอง) กรณีนี้ซ้อมได้เพียงแค่ตีโต้ไปมาสองสามครั้งเท่านั้นแล้วกรรมการก็จะให้เริ่มเล่นต่อจากเกมที่ค้างเอาไว้

12. การหยุดพักระหว่างเกม

     การแข่งขันปิงปองใช้เวลาในการแข่งขันไม่นานนัก ดังนั้นช่วงเวลาที่ใช้ในการหยุดพักให้กับผู้แข่งขันจึงมีเวลาไม่นานตามไป ตามกติกาบอกว่า การแข่งขันจะต้องดำเนินไปเรื่อยๆจนกว่าจะจบเกม โดยช่วงหยุดพักหลังจากจบเกมจะได้เวลาพักประมาณ 1 นาทีก่อนจะขึ้นเกมใหม่ อีกกรณีหนึ่งก็คือ ผู้ตัดสินอาจจะอนุญาตให้นักกีฬาพักซับเหงื่อได้ เมื่อครบทุก 6 คะแนน หรือ ช่วงเปลี่ยนแดนกันในเกมสุดท้าย ส่วนการขอเวลานอกตลอด 1 แมทช์ ผู้เล่นสามารถขอได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น ครั้งละไม่เกิน 1 นาที หากกรรมการอนุญาตให้การขอเวลานอกเกิดขึ้นกรรมการจะชูใบขาวเพื่อเป็นสัญลักษณ์และวางใบขาวนั้นไว้บนโต๊ะฝั่งผู้เล่นที่ขอเวลานอก แล้วเก็บขึ้นเพื่อเป็นสัญญาณบอกว่าเวลานอกหมดลงแล้ว อีกหนึ่งกรณีที่จะหยุดพักระหว่างเกมได้แบบฉุกเฉินก็คือ ผู้เล่นเกิดอุบัติเหตุระหว่างการเล่น หกล้ม ศีรษะฟาด เลือดออก หากเป็นแบบนี้กรรมการจะหยุดพักให้นักกีฬาปฐมพยาบาลก่อนเพื่อความปลอดภัยจากนั้นประเมินอาการหากแข่งต่อได้ก็แข่ง แต่หากไม่ไหวต้องยุติการแข่งขัน แต่หากเป็นอาการเบื้องต้นที่ไม่ได้เกิดจากอาการที่บาดเจ็บหรือสาหัสจนไม่สามารถทำการแข่งขันต่อไปได้ เช่น อาจเกิดจากตะคริวหรืออาการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ แผลถลอกที่ขา โดยที่ผู้เล่นยังคงสามารถทำการแข่งขันต่อไปได้เช่นนี้ กรรมการก็จะไม่ให้หยุดพักหรือสั่งพักเพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ผู้แข่งขันสามารถทำการแก้ไขในเบื้องต้นได้ด้วยตนเองและยังต้องดำเนินการแข่งขันต่อไป

13. บทลงโทษด้านพฤติกรรม

     หากมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อการเล่นปิงปองหรือแสดงพฤติกรรมที่ผิดกฎ กติกาการเล่นปิงปองนั้น มีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้เข้าแข่งขันไว้โดยเฉพาะ หากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อย่างเช่น การตะโกนคำหยาบคาย การทำลายสิ่งของในบริเวณแข่งขัน กรรมการมีสิทธิ์ลงโทษตามลำดับก็คือ เตือน ตัดคะแนน(เพิ่มคะแนนให้ฝ่ายตรงข้าม) 1-3 คะแนน (ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งและการเตือน) เชิญออกจากสถานที่แข่งขัน และหากมาตรการดังกล่าวไม่เป็นผลยังทำพฤติกรรมเดิมซ้ำ กรรมการมีสิทธิ์ตัดสินให้แพ้การแข่งขันในแมทช์นั้นได้เลย รวมถึงรายงานพฤติกรรมต่อฝ่ายจัดการแข่งขันเพื่อลงโทษต่อไป ซึ่งการลงโทษเช่นนี้จะมีระดับการลงโทษเป็นขั้นตอน ดังนั้นผู้ลงโทษจึงต้องลงโทษผู้แข่งขันตามลำดับของความร้ายแรงในการละเมิดกฎกติกาด้วย