แฮนด์บอล กีฬาสุดมันส์ ที่หลายคนชื่นชอบ

แฮนด์บอล
แฮนด์บอล-1

     แฮนด์บอล กลายเป็นกีฬาที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในประเทศไทยมาอย่างยาวนานแล้ว เพราะเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่เล่นง่าย จึงสามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยากเท่าใดนัก อีกทั้งกีฬาชนิดนี้ยังได้ถูกนำมาบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนของประเทศไทยเพื่อให้เด็กไทยเข้าถึงและรู้จักกันมากขึ้นด้วย

ประวัติกีฬา แฮนด์บอล

     จุดเริ่มต้นของกีฬาแฮนด์บอลถือว่ามีต้นกำเนิดมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยอดีต และยังสามารถครองความนิยมมาได้จนถึงปัจจุบัน โดยถือว่าเป็นตัวบ่งบอกแบ่งแยกค่านิยมออกไปตามแต่ละภูมิภาค วัฒนธรรม หรือภูมิอากาศทำให้มีความแตกต่างกันออกไป อาทิ ประเทศไทยเราก็มีตะกร้อเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้ต่างชาติได้รู้จัก หรือประเทศญี่ปุ่นก็มีกีฬาเบสบอลที่ได้รับความนิยมสูงสุดจนโด่งดังไปทั่วโลก เช่นเดียวกับกีฬา “แฮนด์บอล ((Handball)”ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมันราวช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ครูพละศึกษานามว่า Konrad Koch ได้นำกีฬาชนิดนี้ออกมาเผยแพร่ ซึ่งในช่วงขณะนั้นแฮนด์บอลยังไม่ค่อยได้รับความนิยมเป็นที่รู้จักเสียเท่าไหร่ จนมาถึงปีพ.ศ.2447 กีฬาแฮนด์บอลจึงได้ถูกพัฒนารูปแบบการเล่นทั้งเรื่องกำหนดกฎระเบียบและกติการการเล่น โดยอาศัยต้นแบบกติกามาจากฟุตบอลเป็นหลัก มีคำกล่าวว่ากีฬาแฮนด์บอลถือได้ว่าน่าจะเป็นกีฬาที่เก่าแก่มากที่สุดอีกประเภท นั่นเป็นเพราะมนุษย์ชอบการใช้มือขว้างลูกบอลมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าเกมกีฬาแฮนด์บอลนั่นได้ถูกวิวัฒนาการมาจากไหนกันแน่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวประเทศแถบยุโรปจะมีอากาศหนาวจัดทำให้ไม่สามารถที่จะเล่นกีฬากลางแจ้งได้ จึงได้นำห้องพละศึกษามาดัดแปลงให้สามารถเล่นกีฬาฟุตบอลด้วยมือเปล่าแทน โดยกำหนดตัวผู้เล่นไว้ที่ 11 คนเหมือนกับฟุตบอล แต่เนื่องจากสถานที่คับแคบทำให้เล่นได้ไม่สะดวกเท่าไหร่ ส่งผลให้ต้องลดจำนวนผู้เล่นให้เหลือเพียงข้างละ 7 คน ต่อมาจึงกลายมาเป็นกีฬาแฮนด์บอลแบบที่เห็นกันในปัจจุบันนี้
ในช่วยแรกเริ่มของกีฬาแฮนด์บอลนั้น คือเมื่อช่วงต้นแฮนด์บอลยังไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นเกมกีฬาประเภทหนึ่ง เพราะไม่มีหน่วยงานของตัวเองออกมารองรับ โดยคณะกรรมการที่เริ่มก่อตั้งและดำเนินการจัดขึ้นมาจากสหพันธ์กีฬาสมัครเล่นระหว่างชาติ หรือที่เรียกว่า (The International Amateur Athletic Federation) มีชื่อย่อว่า I.A.A.F. ซึ่งเป็นคณะกรรมการชุดเดียวกับที่จัดการดำเนินการเรื่องต่างๆในทั่วทวีปยุโรปสมัยนั้น

     แต่เมื่อระยะเวลาได้ผ่านไปสักพัก เมื่อขณะที่หลังจากที่แฮนด์บอลได้เข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของ I.A.A.F. ในปีพ.ศ.2447 ก็เริ่มมีความชัดเจนและมั่นคงมากขึ้น นอกจากนั้นยังได้รับความสนใจจากหลายๆประเทศ รวมทั้งถูกบรรจุให้เข้าในรายการกิจกรรมการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศเพิ่มขึ้นอีกด้วย กระทั่งเมื่อระยะเวลาได้ก้าวเข้าสู่ปี พ.ศ.2469 ทาง I.A.A.F. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกีฬาแฮนด์บอลขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ซึ่งการคัดเลือกคณะกรรมการที่มาจากประเทศต่างๆที่อยู่ในเครือสมาชิกของกีฬาแฮนด์บอลนั่นเอง โดยเป็นการประชุมเพื่อทำข้อตกลงเรื่องกฎกติกาต่างๆ จึงนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้กีฬาแฮนด์บอลได้รับการยอมรับให้เป็นกีฬาประเภทหนึ่งอย่างเป็นทางการ จากนั้นในปีพ.ศ.2471 สหพันธ์แฮนด์บอลก็ได้ถูกจัดตั้งขึ้น วาระแรกคือประเทศในกลุ่มสมาชิกทั้ง 11 ประเทศได้เข้าร่วมประชุมทำข้อตกลงในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก แห่ง เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศฮอลแลนด์ ( The International amateur Handball Federation) ซึ่งบุคคลที่เป็นหลักสำคัญของกีฬาสหพันธ์นี้ก็คือ Every Brundage ประธาน I.O.C ก็ได้เป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์กรนี้ด้วย กระทั่งเมื่อปีพ.ศ.2471 กีฬาแฮนด์บอลได้ออกสู่สายตาชาวโลกจากการออกสาธิตในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ต่อมาพ.ศ.2474 กีฬาแฮนด์บอลก็ได้ถูกบรรจุให้เข้าร่วมรายการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ โดยปีพ.ศ. 2477ได้ถูกยอมรับจาก I.O.C. ทำให้มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิม 11 ประเทศ เพิ่มขึ้นมาเป็น 25 ประเทศ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นได้ว่ากีฬาแฮนด์บอลเริ่มเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง จนเข้าสู่ปี พ.ศ.2479 ก็ได้เข้าร่วมเกมแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกณ.กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน หรือที่เรียกกันว่า “Nazi Olympic”
ในขณะที่เห็นได้ชัดเจนมากขึ้นถึงวิวัฒนาการของกีฬาแฮนด์บอลกระทั่งเมื่อโลกเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดความวุ่นวายและสร้างปัญหาให้กับวงการกีฬาอย่างมากมาย แต่พอหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงได้มีการจัดประชุมร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง ณ เมืองโคเปนเฮเกน เพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูกีฬาแฮนด์บอลขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่ทว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ จนมา ปีพ.ศ.2499 แฮนด์บอลได้ถูกแก้ไขกติกาขึ้นมาใหม่ โดยปรับเปลี่ยนลักษณะรูปแบบการเล่นและกติกาด้วยการนำกฎ กติกาการเล่นกีฬาของทั้งสองประเภทระหว่างกีฬาฟุตบอลและบาสเกตบอลมาผสมผสานจนก่อเกิดกีฬาสุดฮิตอีกชนิดหนึ่ง
     ตามที่ได้กล่าวมาในช่วงต้นแล้วว่า ช่วงแรกแฮนด์บอลมีจำนวนสมาชิกผู้เล่น 11คน เหมือนกับฟุตบอล แต่ทว่าในแถบยุโรปตอนเหนือยังคงเล่นแบบ 7 คนและเล่นกันในที่ร่มซึ่งไม่ค่อยได้รับความนิยมเสียเท่าไหร่ แต่พอหลังจากนั้นการเล่นแฮนด์บอลแบบ 7 คน ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ทำให้การเล่นแบบ 11 คนก็ค่อยๆเลือนหายไป ส่วนสาเหตุของการเล่น 7 คนได้รับความสนใจอาจเป็นเพราะพื้นที่ในสนามค่อนข้างจำกัด สามารถเล่นในบริเวณที่ใช้พื้นที่แคบๆได้ นอกจากนั้นยังมีเรื่องของดินฟ้าอากาศของประเทศยุโรปเองก็ถูกปกคลุมไปด้วยหิมะและน้ำแข็ง ฉะนั้นแฮนด์บอลจึงถูกเล่นแค่ในร่มหรือในโรงยิมแทนการเล่นกลางแจ้ง

ประวัติและความเป็นมาของแฮนด์บอลในประเทศไทย

     จุดเริ่มต้นในด้านประวัติความเป็นมาของกีฬาแฮนด์บอลระดับโลกนั้นมีมาอย่างยาวนานแล้ว แต่สำหรับกีฬาแฮนด์บอลที่เพิ่งถือกำเนิดเข้ามานั้นมีจุดกำเนิดที่แตกต่างกันบ้าง คือแฮนด์บอลได้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย เมื่อปีพ.ศ. 2482 โดยอาจารย์กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพบศึกษาในขณะนั้น ซึ่งช่วงที่แฮนด์บอลเข้ามาที่ประเทศไทยยังเป็นการเล่นแบบ 11 คนอยู่ แต่ทว่าไม่ได้รับการตอบรับจากคนไทยเท่าที่ควร กีฬาแฮนด์บอลก็ได้ถูกยกเลิกไป พอมาในปีพ.ศ. 2500 อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้เดินทางไปศึกษางานด้านพลศึกษาที่ประเทศเดนมาร์ก และสวีเดน หลังจากกลับมาก็นำกีฬาแฮนด์บอลมาเผยแพร่อีกครั้ง ด้วยการนำไปบรรจุเข้าลงในการเรียนสอนให้กับโรงเรียนฝึกหัดครูพลามัย และวิทยาลัยพลศึกษาเพื่อเริ่มทดลองก่อน จากนั้นจึงเริ่มเผยแพร่ไปโรงเรียนต่างๆบางส่วน

     ในยุคสมัยนี้ที่มีการเรียนการสอนของการศึกษาไทย ได้นำวิชาแฮนด์บอลได้บรรจุเข้าในหลักสูตรของของวิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศ รวมทั้งกำหนดให้เป็นวิชาบังคับในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการตลอดหลักสูตร จึงถือได้ว่ากีฬาแฮนด์บอลได้เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเล่นกันอย่างกว้างขวางในหมู่ของนักเรียนวิทยาลัยพลศึกษาและประชาชนทั่วไปให้ได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเล่นกีฬาชนิดนี้กันมากขึ้น และทำให้กีฬาชนิดนี้กลายเป็นที่รู้จักสำหรับคนไทยมากขึ้นด้วย

อุปกรณ์ในการเล่นกีฬาแฮนด์บอล

     การเล่นกีฬาแฮนด์บอลพูดง่ายๆ ก็อาจมีความคล้ายคลึงกับการเล่นกีฬาบาสเกตบอลอย่างมาก แต่ก็ยังคงมีข้อแตกต่างในเรื่องอุปกรณ์และวิธีการเล่นจนทำให้สังเกตถึงความแตกต่างได้ไม่ยาก ซึ่งอุปกรณ์ในการเล่น กีฬาแฮนด์บอลที่ถูกต้อง มีดังต่อไปนี้

  • สนามแข่งขัน : ตามมาตรฐานสนามแข่งขันแฮนด์บอลจะอยู่ที่ 40 เมตร และกว้าง 20 เมตร ลักษณะเป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านยาวจะเรียกว่า เส้นข้าง ส่วนด้านสั้นเรียกว่า เส้นประตู และควรมีพื้นที่ข้างสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร เส้นหลังประตูต้องไม่น้อยกว่า 2 เมตร
  • ประตู : จะมีตาข่ายขึงตึงไว้ในลักษณะหยุ่นความกว้าง 3 เมตร สูง 2 เมตร เพื่อที่เวลาขว้างลูกบอลออกไปจะไม่ถูกกระดอนกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว ในสนามมีเส้นประกอบไปด้วย เส้นส่งกินเปล่า, เส้นเขตประตู, เส้นเปลี่ยนตัว, เส้น 7 เมตร ซึ่งเส้นประตูจะอยู่ที่ระหว่างเสาประตูทั้ง 2 ข้าง
  • ลูกบอล : จะมีลักษณะรูปทรงกลม ไม่มีแสงสะท้อนหรือลื่น แบ่งออกเป็นลูกบอลสำหรับนักกีฬาผู้ชายและนักกีฬาผู้หญิง โดยลูกบอลของนักกีฬาชายจะมีเส้นรอบวงอยู่ที่ 58-60 ซม.น้ำหนัก 425-475 กรัม ทุกการแข่งขันจะมีลูกบอล 2 ลูกทุกครั้ง ส่วนลูกบอลของนักกีฬาหญิงจะมีเส้นรอบวง 54-56 ซม.น้ำหนัก 325-400 กรัม จะมีลูกบอลอลใช้ในการแข่งขัน 2 ลูกเช่นกัน

กฎกติกาการเล่นแฮนด์บอลที่ถูกต้อง

     กฎและกติการวมถึงมารยาทในการเล่นกีฬาแฮนด์บอลนั้นไม่ยุ่งยากมากนัก แต่หากหลายคนที่คิดว่าเหมือนกับการเล่นกีฬาบาสเกตบอลล่ะก็ สามารถเช็กกฎกติกาของการเล่นกีฬาแฮนด์บอลได้ว่ามีจุดที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว โดยกติกา แฮนด์บอล จะแยกออกเป็นทีมชายและทีมหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ระยะเวลาการแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง คือ ครึ่งละ 30 นาที แล้วพัก 10 นาที กรณีที่เล่นครึ่งแรก หากเกมมีการเล่นเกินเวลาที่กำหนดพอมาถึงครึ่งหลังก็ต้องหักเวลาที่เกินออกไป พร้อมกับเล่นให้เต็มเวลา 30 นาทีของครึ่งหลัง กรณีในช่วงเวลาปกติผลการแข่งขันเสมอกันให้เพิ่มเวลาออกเป็นพิเศษหลังจากพัก 5 นาที เพื่อเสี่ยงว่าจะเลือกส่งหรือเลือกแดนในช่วงของการต่อเวลาพิเศษ โดยช่วงของเวลาที่เพิ่มจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 5 นาที (จะเปลี่ยนแดนกันในครึ่ง ไม่มีเวลาพัก)​ ถ้าผลยังคงออกมาเสมอกันอีก ก็สมามรถต่อเวลาพิเศษในช่วงที่ 2 โดยให้ทีมเสี่ยงเลือกส่งหรือแดน และจะไม่มีการพัก (ถ้าผลการแข่งขันจากการต่อเวลาพิเศษยังได้ผลเสมอกันอยู่ ให้หาแนวทางประยุกต์กติกาเพื่อหาผู้ชนะในที่สุด)

ทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน

     การเล่นกีฬาชนิดนี้จะมีวิธีการเล่นและรูปแบบที่ไม่แตกต่างจากกีฬาบาสเกตบอลนัก โดยจะต้องมีการเล่นเป็นทีมทั้งยังต้องมีการจัดสรรแบ่งจำนวนผู้เล่นตามกฎกติกาที่ถูกต้องด้วย ซึ่งการแข่งขันทุกครั้งแต่ละทีมจะต้องส่งรายชื่อผู้เล่นทีมละ 12 คน (แบ่งเป็นผู้เล่น 6 คน และผู้รักษาประตู 1 คน)​ ส่วนรายชื่อที่เหลือจะเป็นผู้เล่นสำรอง ในระหว่างการแข่งขันผู้เล่นที่ลงสนามในแต่ละทีมจะต้องไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ทว่าเมื่อเกมการแข่งเริ่มแล้วผู้เล่นจะน้อยกว่า 5 คนก็ไม่ผิดกติกา สำหรับเรื่องการเปลี่ยนตัวสามารถเข้าออกได้ตลอดเวลา เมื่อเปลี่ยนออกมาแล้วก็ยังสามารถที่จะกลับลงเข้าไปแข่งในสนามได้อีก โดยไม่จำเป็นต้องบอกผู้บันทึกและผู้จับเวลา แต่ควรต้องรอให้ผู้เล่นในสนามออกนอกสนามไปก่อน แล้วจะต้องมารอเข้าออกตรงบริเวณเส้นเปลี่ยนตัวในฝ่ายของตนเองเท่านั้น กรณีที่มีผู้เล่นเข้ามาเกินผู้เล่นคนนั้นจะต้องโดนสั่งพัก 2 นาที รวมทั้งผู้เล่นในทีมที่ถูกปรับให้ต้องออกนอกสนาม 1 คน ให้เหลือเพียง 6 คน ประมาณ 2 นาทีขึ้นอยู่กับผู้ตัดสินว่าจะส่งให้ใครเป็นผู้ออก

ผู้รักษาประตู

     อีกหนึ่งหน้าที่ในทีมสำหรับตำแหน่งผู้เล่นที่สำคัญอีกตำแหน่งหนึ่งก็คือ ผู้รักษาประตู สำหรับผู้รักษาประตูสามารถที่จะวิ่งออกไปเล่นในสนามได้ และยังสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นผู้รักษาประตูแทนได้ตลอดเวลาแต่จะต้องเปลี่ยนเสื้อกันเสียก่อน นอกจากนั้นยังเคลื่อนตัวไปในเขตประตูพร้อมลูกบอลได้โดยไม่มีข้อจำกัด แต่ทว่าห้ามพาลูกออกไปนอกเขตประตูเด็ดขาด และหากออกมานอกเขตแล้วจะกลับเข้าเขตประตูกับลูกบอลก็ไม่ได้เช่นกัน ส่วนการนับประตูถ้าผู้เล่นพลาดส่งลูกบอลเข้าประตูตัวเอง ก็จะถูกนับประตูนั้นเข้าไปด้วย

วิธีการเล่นเกมการเล่นลูกบอล

     การเล่นเกมการเล่นลูกบอลจำเป็นต้องทำตามกติกาด้วย โดยตามกติกาแล้วผู้เล่นสามารถที่จะขว้าง หยุด จับ ผลัก หรือตีลูกบอลด้วยการใช้มือทั้งสองข้าง รวมทั้งแขน ลำตัว ศีรษะ ลำตัว เข่า ต้นขา และผู้เล่นจะจับลูกบอลไว้ในมือเดียวหรือสองมือได้ไม่เกิน 3 วินาที หรือก้าวเท้าได้ไม่เกิน 3 ก้าว ซึ่งการนับก้าวว่าเดินไปกี่ก้าวแล้ว สามารถนับได้ตามวิธีการดังต่อไปนี้

  • ผู้เล่นยืนในลักษณะเท้าทั้ง 2 ข้างยืนบนพื้น แล้วยกเท้าขึ้นข้างหนึ่งวางลงหรือเคลื่อนที่ไปยังที่อื่น
  • ผู้เล่นยืนสัมผัสพื้นด้วยการใช้เท้าข้างเดียว ในมือจับลูกบอลไว้แล้วใช้เท้าอีกข้างสัมผัสพื้น
  • กระโดดก้าวขาลงพื้นด้วยเท้าเดียว และกระโจนด้วยการใช้เท้าข้างเดิมหรือใช้เท้าข้างอื่นในการสัมผัสพื้น
  • กระโดดโดยใช้เท้าทั้ง 2 ข้างสัมผัสพื้นพร้อมกัน พร้อมกับยกเท้าข้างหนึ่งแล้ววางเท้าข้างนั้นลง หรือจะเคลื่อนเท้าข้างหนึ่งไปยังตำแหน่งอื่น (สามารถถลากเท้าอีกข้างตามได้)​
  • ในช่วงที่อยู่ระหว่างยืน หรือวิ่ง กระดอนลูกลงหนึ่งครั้ง ละจับลูกด้วยมือข้างเดียว หรือสองข้าง
  • จังหวะการเลี้ยงลูกบอล จะใช้มือข้างเดียวกระดอนซ้ำหรือกลิ้งบอล จากนั้นจึงค่อยจับลูกบอลหรือเก็บลูกบอลขึ้นมาด้วยมือทั้งสองข้าง หรือมือข้างเดียว
  • ในจังหวะที่ผู้เล่นใช้มือจับลูกบอลด้วยมือข้างเดียว หรือสองข้าง ต้องทำภายในเวลา 3 วินาที หรือจากการก้าวที่ไม่เกิน 3 ก้าว ส่วนการกระดอนลูกสามารถใช้ส่วนต่างๆของร่างกายได้ เมื่อลูกบอลโดนผู้เล่นทีมคู่แข่งขันหรือถูกผู้รักษาประตู ผู้เล่นสามารถที่จะปัด กระดอน และจับลูกบอลต่อได้อีก

ห้ามทำสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ในระหว่างที่เล่นลูกบอลแล้วกำลังคุกเข่า นอน หรือนั่งอยู่บนพื้นไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำการ ดังนี้

  • ห้ามถูกลูกบอลมากกว่า 1 ครั้ง นอกเสียจากว่าลูกบอลไปโดนผู้เล่นคนอื่น หรือเสาประตู
  • การถือครองลูกบอลพลาด ( Fumbling)​จะไม่ถูกผู้ตัดสินลงโทษ *ลูกบอลพลาด คือการที่ผู้เล่นพยายามที่จะแสดงกิริยาจับหรือหยุดลูกบอล แต่พลาดจากการถือครอง
  • ลูกบอลถูกเท้าหรือขาที่อยู่ต่ำลงมากว่าเข่าลงไป มีข้อยกเว้นหากผู้ต่อสู้ขว้างลูกบอลออกมาถูกผู้เล่น แต่ทว่าการทำผิดในกรณีนี้จะไม่ถูกลงโทษถ้าไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้เกิดข้อได้เปรียบกับผู้เล่นหรือว่าทีมของตนเอง
  • ห้ามทิ้งตัวลงในขณะที่ลูกบอลวางอยู่บนพื้นหรือกำลังกลิ้งอยู่ แต่กติกาในข้อนี้มีข้อยกเว้นกับผู้รักษาประตูที่อยู่ในระหว่างเขตประตูของตนเอง
  • ส่อเจตนาทำลูกบอลออกนอกเส้นข้างหรือเส้นประตู กติกาในข้อนี้ก็ยกเว้นให้กับผู้รักษาประตูที่อยู่ในช่วงพยายามครอบครองลูกบอลพลาดภายในเขตประตู รวมทั้งลูกบอลได้ส่งออกไปทางเส้นประตูโดยตรง ( ส่งออกจากประตู)​
  • ถือครองลูกบอลอยู่ภายในเขตทีมของตนเอง โดยไม่พยายามที่จะรุกหรือทำคะแนน ซึ่งการเล่นในรูปแบบนี้จะต้องถูกลงโทษด้วยการให้ส่งลูกกินฟรีจากจุดที่ลูกหยุดการเคลื่อนไหว
  • เกมกการเล่นจะดำเนินต่อไปถ้าลูกบอลไปโดนผู้ตัดสินในสนาม

วิธีการนับคะแนนเมื่อลูกเข้าประตู

     การเข้าประตูของลูกแฮนด์บอลสามารถเกิดขึ้นได้หลายกรณี ดังนั้นการนับคะแนนเมื่อลูกเข้าประตูจะต้องเป็นกรณีดังต่อไปนี้

  • เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเข้าไปในเขตเส้นประตู จากทั้งผู้ทำประตูและเพื่อนร่วมทีมไม่ทำผิดกติกามาก่อนที่ลูกบอลจะเข้าประตู
  • ขณะที่ลูกบอลกำลังจะเข้าประตูแต่ถูกบุคคลอื่นหรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปขัดขวาง ปัดป้องไม่ให้ลูกเข้าประตู ผู้ตัดสินจะพิจารณาให้นับประตู
  • กรณีที่ผู้ตัดสินได้เป่านกหวีดให้ส่งลูกให้เริ่มเล่นต่อ ประตูที่ได้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และทีมไหนที่ทำประตูได้มากกว่าถือว่าเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน

วิธีการยิงลูกโทษ

   การยิงลูกโทษของกีฬาแฮนด์บอลก็คล้ายกับการยิงลูกโทษของกีฬาชนิดอื่นๆ โดยอาจทำได้ดังนี้

     ฝ่ายตรงข้ามที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายรักษาประตูจะต้องอยู่ให้ห่างจากจุดยิงออกไปไม่น้อยกว่า 3 เมตร ในระหว่างที่มีการยิงลูกโทษ ผู้ที่ทำหน้าที่รักษาประตูจะแตะหรือข้ามเส้นเขตผู้รักษาประตู (ขนาดเส้น 4 เมตร) ​ก่อนที่ลูกจะหลุดออกจากมือผู้ยิงลูกโทษ ผู้ตัดสินจะสั่งให้ยิงประตูลูกโทษใหม่

วิธีการส่งลูกก่อนเริ่มเล่น

     การส่งลูกแฮนด์บอลก่อนเริ่มเล่นของกีฬาชนิดนี้ถือว่าเป็นการสร้างข้อแตกต่างระหว่างกีฬาชนิดอื่นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยผู้เล่นที่ทำหน้าที่ส่งลูกจะต้องไปยืนบริเวณจุดกึ่งกลางสนามตรงทิศใด ทิศหนึ่งก็ได้แต่ต้องทำภายใน 3 วินาที และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องยืนให้ห่างจากผู้ส่งลูกเริ่มเล่นไม่น้อยกว่า 3 เมตร (ยกเว้นผู้เล่นกระโดด)

วิธีการส่งลูกเข้าเล่น

     เมื่อมีการเล่นแฮนด์บอลไปแล้ว หากลูกออกนอกสนามผู้เล่นจะต้องเริ่มส่งตรงจุดที่ลูกบอล โดยผู้ที่หน้าที่ส่งลูกเข้าเล่นจะต้องให้เท้าข้างหนึ่งอยู่บนเส้นข้าง จนกว่าลูกบอลจะพ้นไปจากมือ แล้วผู้ตัดสินจะต้องไม่ใช้สัญญาณนกหวีดตอนนั้นเด็ดขาด

ข้อมูลที่ใช้ประกอบในการตัดสินบทลงโทษ กีฬาแฮนด์บอล

     การถูกลงโทษของผู้เล่นกีฬาแฮนด์บอลนั้น สามารถนำสิ่งต่างๆ มาประกอบเพื่อลงโทษได้โดยมีระดับของการลงโทษผู้เล่นและทีมดังต่อไปนี้

  1. การตักเตือนด้วยวาจาไม่มีการบันทึก
  2. การเตือนด้วยการใช้ใบเหลือง เพื่อแจ้งให้ผู้จับเวลาและผู้บันทึกรับทราบ
  3. การตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
  4. ผู้เล่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปภายในพื้นที่สนาม
  5. การกระทำการรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการเข้าเล่นกับคู่ต่อสู้แบบไม่ถูกต้อง
  6. การแสดงพฤติกรรมที่ส่อให้เห็นว่าไม่มีน้ำใจนักกีฬา
  7. ผู้เล่นที่ถูกสั่งพักการเล่นถึง 3 ครั้ง
  8. แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวทั้งกับเจ้าหน้าที่หรือผู้เล่นนอกสนามการแข่งขัน

คำสั่งของผู้ตัดสินเกี่ยวกับการสั่งพักการเล่น 2 นาที

     คำสั่งของผู้ตัดสินที่สั่งให้ฝ่ายที่ถูกลงโทษต้องพักการเล่นนั้น เกิดได้ในกรณีที่มีการเปลี่ยนไม่ถูกต้องหรือการที่ผู้เล่นกระทำความผิดซ้ำซาก หากคนเดิมถูกสั่งพักการเล่นเกิน 3 ครั้ง ผู้เล่นคนนั้นจะถูกตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน ส่วนการเตือนชั้นแรกกรรมการจะให้ใบเหลือง เพื่อแจ้งให้ผู้บันทึกรับทราบ และหากทำผิดรุนแรงจนเกิดเหตุกับผู้เล่นคนอื่น คนทำผิดจะถูกแจกใบแดงทันที

จำนวนผู้ตัดสินในเกมกีฬา 2 คน

     การเล่นกีฬาแฮนด์บอลจะมีผู้ตัดสินการเล่นหรือกรรมการที่ถูกกำหนดไว้โดยกฎ กติกาไว้แล้ว โดยในกีฬาแฮนด์บอลผู้ตัดสินจะใส่ชุดดำในสนาม กรณีที่มีคำตัดสินที่ยัดแย้งกันจะถือคำตัดสินของกรรมการที่อยู่ในสนามเป็นหลัก (ผู้ตัดสินที่มีชื่อเป็นคนแรก)​ และยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บรวบรวมใบบันทึก

     ที่กล่าวมาทั้งหมดคือรายละเอียด วิธีการเล่น รวมถึงกฎกติกา มารยาทในการเล่นแฮนด์บอลที่ถูกต้อง และยังเป็นการนำเรื่องราวประวัติของกีฬาชนิดนี้มาให้ได้รับทราบกันด้วย สำหรับผู้ที่สนใจต้องการเล่นกีฬาแฮนด์บอลล่ะก็ สามารถนำรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ไปเป็นข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแข่งขันหรือเล่นกีฬาแฮนด์บอลได้ทั้งหมด